ประวัติ
ประวัติ
ประวัติสถานศึกษา
             ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  ๖ กรกฎาคม  ๒๕๔๒  เห็นชอบในหลักการ มาตรการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ตลอดจนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และโครงสร้างการบริหารงานของการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ จึงให้กระทรวงศึกษาธิการ  โดยกรมสามัญศึกษาดำเนินการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ  ประจำจังหวัด เพื่อเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาและเตรียมความพร้อมของคนพิการ  จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีนายชูศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาพิเศษพิจิตร (เดิม) เป็นผู้จัดหาสถานที่และได้ขอใช้อาคารสำนักงานสามัญศึกษาเดิม ตั้งอยู่ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่จำนวน ๒ ไร่   เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ได้ทำการปรับปรุง ซ่อมแซม และเปิดทำการเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓โดยเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กพิการทั้ง ๙ ประเภท ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI)  การเตรียมความพร้อมให้เด็กพิการด้านการพัฒนาศักยภาพ และด้านการศึกษา ให้คำแนะนำเตรียมความพร้อมแก่เด็กพิการ เพื่อเข้าเรียนต่อในโรงเรียนเฉพาะความพิการ หรือเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ประสานงานการจัดการเรียนร่วมในพื้นที่ สนับสนุนการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาแก่คนพิการ  ปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะแนว จัดทำสถิติ ข้อมูล และบริการ ด้านการศึกษาพิเศษแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดการศึกษาอบรมผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากร ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคนพิการ มีเขตพื้นที่บริการ จำนวน ๑๑ อำเภอ  ดังนี้ 
               ๑.  อำเภอเมือง                               ๒.  อำเภอไทรงาม

               ๓.  อำเภอคลองลาน                        ๔.  อำเภอขาณุวรลักษบุรี
               ๕.  อำเภอคลองขลุง                        ๖.  อำเภอพรานกระต่าย
               ๗.  อำเภอลานกระบือ                       ๘.  อำเภอทรายทองวัฒนา
               ๙.  อำเภอปางศิลาทอง                     ๑๐. อำเภอบึงสามัคคี
               ๑๑. อำเภอโกสัมพีนคร
             ย้ายที่ทำการแห่งใหม่ ณ เลขที่ ๔๐๕ หมู่ ๑๑ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ช่วงกม.ที่ ๗ - ๘ ถนนสายกำแพงเพชร - สุโขทัย บนเนื้อที่  ๙ ไร่เศษ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เพื่อรองรับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้มีคุณภาพ มาตรฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐาน ทางวิชาการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา บำบัด ฟื้นฟูเด็กพิการทุกประเภทให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมลักษณะพึ่งพาตนเองได้  ปัจจุบันมีเด็กพิการในความดูแลของศูนย์ฯ จำนวน ๓๐๖ คน


เว็บตรง